ประชาสัมพันธ์




ความหมายและสัญลักษณ์ของ อถล.
ตราสัญลักษณ์อถล. มีลักษณะเป็นรูปหยดน้ำ
สีน้ำเงิน หมายถึง น้ำ
สีเขียว หมายถึง ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม
สีน้ำตาล หมายถึง ดิน
สีเทา หมายถึง มลพิษ ขยะ
อถล. เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
"อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก" หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อว่า "อถล." มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า "Local Environment Volunteer" ละใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า "LEV" "เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก" หมายความว่า การเชื่อมโยงกันของ อถล. เพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทำกิจกรรมร่วมกัน ในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้พื้นฐานการเคารพสิทธิและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการทำงานร่วมกัน โดยใช้ชื่อย่อว่า "เครือข่าย อถล." และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า "Local Environment Volunteer Network" และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า "LEV-Net"
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก พ.ศ.2561 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2561 ดาวน์โหลดเอกสาร
คุณสมบัติอถล. มีดังต่อไปนี้
1.มีสัญชาติไทย
2.มีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์
3.มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลบ้านฉาง
4.มีความสมัครใจและมีจิตอาสาเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รวมถึงการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
5.เป็นบุคคลที่มีความเสียสละและอุทิศตัวในการทำงานเพื่อส่วนรวม
อถล. มีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
2.เฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแล รวมทั้งรายงานสถานการณ์การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ
3.สื่อสาร เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
4.เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
5.ให้ความร่วมมือกังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ภาคเอกชน และเครือข่าย อถล. เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม
-ประกาศ/บันทึกข้อความ อบต.บ้านฉาง
ลำดับที่ | รายการ | วันที่ประกาศ | ดาวน์โหลดเอกสาร |
12 | บันทึกข้อความ ที่694/2567 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปี พ.ศ. 2567 | ลว.8.ต.ค67 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
11 | การรับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 | ลว.17ม.ค.67 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
10 | รายชื่อคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก | ลว.29ธ.ค.66 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
9 | กำหนดการประชุมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) | ลว.12ธ.ค.66 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
8 | บันทึกข้อความที่ 196/2566 เรื่องรายงานการขับเคลื่อนกิจกรรมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) | ลว.11พ.ค.66 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
7 | การรับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 | ลว.10มี.ค.66 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
6 | บันทึกข้อความที่ 557/2565 เรื่องรายงานผลการดำเนินการการขับเคลื่อนกิจกรรมอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) | ลว.15ก.ย.65 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
5 | การรับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 | ลว.26พ.ค.65 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
4 | การรับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 | ลว.5พ.ย.63 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
3 | การรับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 | ลว.4พ.ย.62 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
2 | การรับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 | ลว.1ต.ค.61 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
1 | รายชื่อคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก | ลว.19มี.ค.62 | ดาวน์โหลดเอกสาร |
-จำนวนสมาชิกอถล.อบต.บ้านฉาง
ปี 2567 = 40 คน
ปี 2566 = 29 คน
ปี 2565 = 65 คน
ปี 2564 = 45 คน
ปี 2563 = 114 คน
ปี 2562 = 89 คน
ปี 2561 = 16 คน
-รวมสมาชิกอถล.อบต.บ้านฉาง จำนวนทั้งสิ้น 398 คน
(สมัครอถล.อบต.บ้านฉาง จำนวน 324 ครัวเรือน จาก 2,994ครัวเรือน)
ข้อมูล ณ วันที่ 12 กันยายน 2567
สินค้าOTOP ตำบลบ้านฉาง
สมุนไพรนวดคลายเส้น (ป้าแก้วสมุนไพร)
สรรพคุณ : แก้ปวด คลายเส้น
ช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาการไหล่ตึงยกแขนไม่ขึ้น กระจายผังผืด ทาก่อนนอนช่วยผ่อนคลายจากความเครียด หลับง่ายขึ้น
การปักสไบมอญ
ความสำคัญสไบในวิถีชีวิตชาวมอญ
1.ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มประกอบการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา คนมอญโดยทั่วไปต้องเข้าวัดหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จำเป็นต้องมีการห่มผ้าสไบเฉียงติดตัวไปด้วย
2.ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งในงานประเพณี คนมอญเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่มีประเพณีพิธีกรรมมากมาย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นเทศกาลที่คนมอญให้ความสำคัญอย่างมาก มีการทำบุญตักบาตร มีการแห่หงส์ธงตะขาบในทุกชุมชนมอญ กิจกรรมอีกอย่างที่เป็นประเพณีปฏิบัติของกลุ่มคนมอญ คือการจัดงานระลึกบรรพชนมอญตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 แต่มักจะจัดขึ้นวันเสาร์-อาทิตย์ ในช่วงนั้น ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีในการมาร่วมประเพณีพิธีกรรมต่างๆ คนมอญจะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือสไบ ในการคล้องผ้าสไบจะมีการคล้องแบบคล้องคอชายของผ้าทั้งสองห้อยมาด้านหน้า
3.ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบพิธีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ตามความเชื่อเรื่องผีมอญ ชาวมอญแต่ละบ้านจะมีผ้าผีมอญวางไว้บนเรือนตรงเสาเอก 1 ใบ ภายในบรรจุผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าแดง ผ้าขาวอย่างละผืน
แหวนทองคำหัวพลอยแดงและหม้อดิน 1 ใบ ในหม้อใส่ข้าวเหนียว เงิน และข้าวตอกดอกไม้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณ หรือผีของบรรพบุรุษที่คอยปกปักดูแลลูกหลานบางบ้าน มีผ้าสไบเป็นส่วนหนึ่งของสมบัติผีรวมอยู่ด้วย
4.ใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุมอญในปัจจุบัน กระแสการแสดงออกทางกลุ่มชาติพันธ์ุมีมากยิ่งขึ้น การสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ุเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมา กลุ่มชาติพันธ์ุมอญได้มีการดำรงไว้ซึ่งประเพณี พิธีกรรม และศิลปวัฒนธรรมมาโดยตลอด
การสานตะกร้าหวาย
"หวาย" เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางงานหัตถกรรมต่างๆ งานฝีมือ เนื่องจากหวายมีเนื้อเหนียว แข็งแรง และยืดหยุ่นได้ดีกว่าไม่ไผ่หรือไม้จักสานชนิดอื่นๆ สามารถจักเป็นเส้นหรือแผ่นบางได้ง่าย โค้งงอได้ดี ลักษณะลำต้นปีนป่าย ไหลยาวได้มากกว่า 3 เมตร อีกทั้งยังนำมาแทนตะกร้าพลาสติกช่วยรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
เมี่ยงคำ
สรรพคุณ : รักษาธาตุทั้ง 4 เช่น น้ำอ้อย, มะพร้าว, ถั่วสงหรือเม็กมะม่วงหิมพานต์และกุ้งแห้งใช้บำรุงรักษาธาตุดิน มะนาวและใบชะพลูใช้บำรุงรักษาธาตุน้ำ หอมและพริกใช้บำรุงรักษาธาตุลม และเปลือกของมะนาวและขิงสดใช้บำรุงรักษาธาตุไฟ โดยวิธีการจัดรับประทานให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลูหรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ
ปราชญ์ชาวบ้าน
ลำดับที่ | รายการ | ดาวน์โหลดเอกสาร |
1 | ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น (จากINFO) | ดาวน์โหลดเอกสาร |
2 | ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น | ดาวน์โหลดเอกสาร |
3 | ทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น | ดาวน์โหลดเอกสาร |
4 | ฐานข้อมูลตลาด | ดาวน์โหลดเอกสาร |
5 | แผ่นพับภูมิปัญญาท้องถิ่น | ดาวน์โหลดเอกสาร |
6 | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ดาวน์โหลดเอกสาร |
ภูมิปัญญาด้านการเกษตรผสมผสาน
การทำเกษตรผสมผสานหมุนเวียน ช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถลดรายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีความมั่นคงทางด้านรายได้อย่างต่อเนื่องจากการขายผลผลิตทางการเกษตร มีความมั่นคงและมีอิสระในการใช้ชีวิต ลดการพึ่งพาจากภายนอกใช้แรงงานในการทำเกษตรจากครัวเรือน อาศัยช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ
บุคคลต้นแบบด้านการเกษตรผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้แก่ นายพิมล กระจับเงิน และนายสนิท เหมือนแก้ว เป็นเกษตรกรตำบลบ้านฉาง หมู่ที่ 2 เป็นเกษตรที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือ พริก แตงกวา กระเพรา สมุนไพรต่างๆ อีกทั้งทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตแก่ครัวเรือนขุดบ่อน้ำเลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ตามหลักเกษตรทฤฎีใหม่
เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"
"ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านวิกฤตโดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ
1.การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังให้พอมีพอกิน
2.การรวมพลังกันในรูปแบบ หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกันในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา
3.การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน
ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุดให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ดังนี้
-ขุดสระเก็บกักน้ำ-
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
-ปลูกข้าว-
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
-ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก-
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม่ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกันและหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
-เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ-
พื้นที่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ
ลำดับที่ | รายการ | ดาวน์โหลดเอกสาร |
1 | ข้อมูลฝ่ายบริหาร | ดาวน์โหลดเอกสาร |
2 | ฝ่ายบริหาร | ดาวน์โหลดเอกสาร |
3 | ฝ่ายนิติบัญญัติ | ดาวน์โหลดเอกสาร |
4 | พนักงานส่วนตำบล | ดาวน์โหลดเอกสาร |